วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันนี้เดินทางไปเยี่ยมโยมแม่ที่ปากช่อง

วันนี้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมโยมแม่ที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไปเห็นท่านอยู่สขสบายแล้วก็ดีใจแต่ก่อนท่านลำบากมามากก็เพื่อลูกของตนเองคิดว่าทุกวันนี้ท่านก็ไม่ลำบากเท่าไรเพราะมีลูกสาวดูแลอย่างดีส่วนอาตมาภาพเป็นพระมาได้ในปัจจุบัน 15 พรรษาแล้วอย่างมากคิดถึงท่านก็เดินทางไปเยี่ยมเยือนเอาไม่ได้ทอดทิ้งแต่ประการใดเลยยังคิดถึงและเป็นห่วงเหมือนเดิมวันนี้ก็เอาผ้าห่ม ผ้านุ่งเสื้อไปให้โยมแม่ที่ ปากช่อง
ฝากมาลงโดย เจ้าอาวาสวัดหนองขนาก

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข่าวงานกฐินวัดหนองขนาก

วันที่ 10 พ.ย.2550 ชาวบ้านหนองขนากตั้งองค์กฐินเพื่อจะนำกฐินไปทอดถวาย ณ วัดหนองขนาก ในวันที่ 11 พ.ย.2550 นี้

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คัดค้านการบวชของสนธิ ลิ้มทองกุล


คัดค้านการบวชของ “สนธิ ลิ้มทองกุล”สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ 100 คนบุกวัดชนะสงคราม สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ 100 คนบุกวัดชนะสงคราม คัดค้านการบวชของ “สนธิ ลิ้มทองกุล”อ้างขาดคุณสมบัติ แถมด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายจนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นชาวพุทธบางคนก็สวมเสื้อยืดปักสัญลักษณ์พีทีวี คาดผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า “คมช.ออกไป”และอีกจำนวนมากมีสภาพผมเผ้าหนวดเครารุงรังและมีท่าทางน่ากลัวจากการกรณีที่ “นายสนธิ ลิ้มทองกุล” ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันและสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะอุปสมบทในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550ที่พระอุโบสถวัดชนะสงครามนั้นผู้สื่อข่าวรายงานว่า(30 ต.ค.) เวลาประมาณ 12.45 น.เครือข่ายองค์กรชาวพุทธประมาณ 100 คนได้เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณวัดชนะสงครามฯ เพื่อคัดค้านการบวชของนายสนธิ ทั้งนี้เครือข่ายดังกล่าวมาในนามของสภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ (สพช.)ต่อมา นายสุเวส อันตรี ประธานสภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ (สพช.)ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อสมเด็จพระมหาธีราจารย์ โดยในหนังสือมีข้อความดังต่อไปนี้สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติวันที่ 30 ตุลาคามกราบเรียน สื่อมวลชนทุกแขนงด้วย นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 27 ต.ค.50 ว่าจะอุปสมบท ณ วัดชนะสงครามโดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม เป็นพระอุปปัชฌาย์ ในวันพุธที่ 7 พ.ย.เวลา09.00 น.สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติจะชุมนุมคัดค้านการอุปสมบทของนายสนธิ ลิ้มทองกุลเนื่องจากเป็นบุคคลที่ขัดต่อพระธรรมวินัยและเป็นอันตรายต่อพระพุทธศานาอย่างร้ายแรง ดังนี้1.นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นบุคคลที่มีคดีความเข้าสู่การพิจารณาในขั้นศาลหลายคดี2.นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว3.นายสนธิ ลิ้มทองกุลเป็นบุคคลที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังฆมณฑลอันเป็นฉายาแห่งสังฆเภทจึงเป็นบุคคลต้องห้ามอุปสมทบตามพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด หากให้การอุปสมบทให้แก่นายสนธิ ลิ้มทองกุลก็จะนำมาซึ่งความร้าวฉานในสังฆมณฑลอย่างไม่เคยมีมาก่อน 4.หากให้การอุปสมบทแก่นายสนธิ ลิ้มทองกุลนอกจากจะไม่ทำให้สำเร็จความเป็นพระภิกษุแล้วยังจะเป็นเหตุให้พระอุปัขฌาย์ต้องอาบัติเพราะให้การอุปสมบทต่อบุคคลต้องห้ามอีกด้วยทั้งนี้สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติจะเคลื่อนไหวให้ถึงที่สุดจนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาทำความมัวหมองให้แก่พระพุทธศาสนาอีกต่อไปผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรดาคนที่เดินทางมาในครั้งนี้ได้ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาบด่าทอนายสนธิอย่างที่ไม่น่าจะเป็นชาวพุทธได้ซึ่งบางคนก็สวมเสื้อยืดปักสัญลักษณ์พีทีวี และแกนนำบางคนก็คาดผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า “คมช.ออกไป”และอีกจำนวนมากมีสภาพผมเผ้าหนวดเครารุงรังและมีท่าทางน่ากลัวทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกับเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์กษัตริย์ ผู้ซึ่งเคยไปเคลื่อนไหวด่าทอศาลกรณีตัดสินจำคุกอดีต 3 กกต.จนโดนข้อหาหมิ่นศาลไปแล้วและบัดนี้กำลังขะมักเขม้นกับผลงานชิ้นใหม่ คือเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร, รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการหรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีให้สั่งระงับการแพร่ภาพภิกษุสันดานกา และถอนรางวัลคืนจากภาพดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นภาพที่ดูหมิ่นสงฆ์และทำลายพระพุทธศาสนาจากนั้นนายสุเวสได้ยื่นหนังสือคัดค้านการบวชของนายสนธิ โดยมี นายสมพร นิยมวานิชเจ้าหน้าที่วัดชนะสงคราม เป็นผู้รับหนังสือแทนนายสุเวสกล่าวภายหลังยื่นหนังสือว่า นายสนธิขาดคุณสมบัติข้อที่ 3 และ 4 เพราะเมื่อวันที่ 29มีนาคม ศาลได้มีคำสั่งจำคุกนายสนธิเป็นเวลา 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา แต่นายสนธิได้ขอประกันตัว ดังนั้นจึงอยู่ระหว่างพิจารณา แค่นี้ก็นับได้ว่าขาดคุณสมบัติที่จะบวช

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเข้าใจกิจของพระสงฆ์


พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา เป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเสื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้ การเข้าใจในกิจของพระภิกษุ เช่น การศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเป็นนักบวชที่ดีพระภิกษุเป็นพุทธบริษัทระดับนำ จึงมีภาระหน้าที่ในการสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยทำหน้าที่หลักใหญ่ ๆ 3 ประการคือ 1. การศึกษา ได้แก่ การทำ “คันถธุระ” หมายถึง พระภิกษุจะต้องศึกษาหลักพระธรรมวินัยตามพระคัมภีร์พระไตรปิฎกเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัย อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสมณเพศ 2. การปฏิบัติ ได้แก่การทำ “วิปัสสนาธุระ” หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตให้เป็นสมาธิ ให้มีพลัง เพื่อนำไปใช้ในการข่มหรือกำจัดกิเลสคือความเศร้าหมองแห่งจิต และให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง จากการทำหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ส่วนตนทั้ง 2 ประการนั้นก็เพื่อนำไปสั่งสอน ถ่ายทอด และเผยแพร่พระธรรม แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปการสั่งสอนและเผยแพร่พระธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของพระภิกษุในการเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป ได้เข้าใจในหลักธรรมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเองและสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นการทำประโยชน์แก่สังคมโดยรวม ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 พระพุทธเจ้าได้ตรัสหน้าที่ของพระสงฆ์ในการสั่งสอนเผยแพร่หลักธรรมแก่ประชาชนไว้ 6 ประการคือ 1) สอนให้ละเว้นความชั่ว คือ การชักจูงใจให้บุคคลพึงละเว้นจากสิ่งที่กระทำลงไปแล้วเกิดโทษ ไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดเป็นความทุกข์ 2) สอนให้ทำความดี คือ การชักจูงใจให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น สิ่งที่เป็นกุศล เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข 3) อนุเคราะห์ด้วยจิตใจอันงาม หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ และแนะนำสั่งสอนด้วยความปรารถนาดี มุ่งประโยชน์ที่บุคคลถึงได้รับเป็นสำคัญ ไม่หวังสินจ้างรางวัล ลาภ ยศ หรือชื่อเสียงใด ๆ เป็นการตอบแทน 4) สอนสิ่งที่เขาไม่เคยสดับตรับฟังมาก่อน ประชาชนส่วนมากมักวุ่นวายอยู่กับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาและสดับพระธรรม พระสงฆ์ผู้ได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติมากกว่าชาวบ้าน จึงต้องนำเอาสิ่งที่ตนเรียนรู้มาถ่ายทอดให้เขาได้รู้ด้วย 5) อธิบายสิ่งที่เขาได้ยินได้ฟังมาแล้วให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น บางเรื่องที่เขาฟังมาแล้วเกิดความสงสัยไม่แน่ใจ ก็ต้องชี้แจงให้เขาเข้าใจแจ่มแจ้งหายสงสัย โดยรู้จักการจับประเด็นที่สำคัญมาขยาย และชี้แจงแต่ละประเด็นให้ชัดเจน 6) บอกทางสวรรค์ให้ หมายถึง การบอกทางสุข ทางเจริญ โดยการแนะนำทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม และเป็นประโยชน์สุขแก่ประชาชน 3. การเป็นนักบวชที่ดี พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน ดังที่กล่าวมาแล้ว พระภิกษุจะต้องเป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย นอกจากอนุเคราะห์พุทธศาสนิกชนแล้ว พระภิกษุจะต้องหมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลัก ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ) 10 ประการดังนี้คือ 3.1 เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะถือเอาแต่ใจตนเองไม่ได้ 3.2 ความเป็นอยู่ของเราต้องอาศัยผู้อื่นในการเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา 3.3 เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้ 3.4 ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ 3.5 เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ 3.6 เราจักต้องถึงความพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น 3.7 เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น 3.8 วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ 3.9 เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ 3.10 คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรชิตถามในกาลภายหลัง ( บทความโดย พระอธิการประภาส โชติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดหนองขนาก )

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประกาศ


ต้องขออภัยท่านผู้มาเยี่ยมชมเว็บบอร์ดของเกิดปัญหานิดหน่อยกำลังดำเนินการแก้ไขในขณะที่รอก็ได้นำระบบห้องบล๊อกธรรมะมาใช้งานไปก่อนชั่วคราวครับคิดว่าคงไม่เกิน 3 วันเว็บบอร์ดคงจะแก้ไขได้เสร็จแต่ในบล๊อกนี้ท่านก็สามารถคลิกอ่านบทความธรรมดีจากเราได้เช่นกันผมในฐานะผู้ดูแลระบบต้องขออภัยในความไม่สะดวกครับ เว็บไซท์สำนักงานเจ้าคณะตำบลสุขไพบูลย์ได้รับการแก้ไขปรับปรุงตลอดจุดประสงค์ในการสร้างเว็บไซท์ก็เพื่องานของพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์อำเภอเสิงสาง....ติดต่อเราได้ที่อีเมล์ nongkanakschool@gmail.com

อายะตนะคืออะไร


อายตนะ แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือในการดำเนินชีวิต ทั่วไปมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่และทำหน้าที่ของมันเป็นโดยมนุษย์ไม่รู้จักหรือแม้รู้จักก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่างทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ แม้องค์ประกอบต่างในการะบวนการผ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการทำงานด้านจิตใจเราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาทางแพทยศาสตร์และชีววิทยา ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและนักจิตวิทยา แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์คือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า”ทวาร”(ประตู, ช่องทาง)หรืออายตนะ อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่าย ๆ ว่า ทางรับรู้ แบ่งออกเป็น1.อายตนะภายใน หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน ได้แก่ ตา(จักขุ) หู(โสตะ) จมูก (ฆานะ) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กาย) ใจ (มโน) ทั้ง 6 นี้เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักขุ เป็นเจ้าในการเห็น เป็นต้น2. อายตนะภายนอก หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก ได้แก่ รูป (รูปะ) คือสิ่งที่เห็น เสียง (สัททะ)กลิ่น (คันสะ) รส (รสะ) สัมผัสทางกาย (โผฏฐัพพะ) อารมณ์ที่เกิดกับใจ สิ่งที่ใจนึกคิด(ธรรมารมณ์) ทั้ง 6 นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสิ่งสำหรับให้ใจยึดหน่วงเมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก)ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่าง ๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่า ได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์ ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ วิญญาณทางตา ได้แก่เห็นวิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งที่ต้องกาย วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจความสัมพันธ์ระหว่าง อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6 ดังนี้อายตะ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณ 61. จักขุ – ตา เป็นแดนรับรู้ รูปะ - รูป เกิดความรู้ คือ จักขุวิญญาณ – เห็น2. โสตะ – หู เป็นแดนรับรู้-สัททะ - เสียง เกิดความรู้ คือ โสตวิญญาณ – ได้ยิน3. ฆานะ -จมูก เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น เกิดความรู้ คือ ฆานวิญญาณ – ได้กลิ่น4. ชิวหา - ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส - รส เกิดความรู้ คือ ชิวหาวิญญาณ - รู้รส5. กาย - กาย เป็นแดนรับรู้ โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย เกิดความรู้ คือ กายวิญญาณ – รู้สิ่งต้องกาย6. มโน - ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ เกิดความรู้ คือมโนวิญญาณ – รู้เรื่องในใจ

อย่าหลงอำนาจ


คนแปลกพอมีอำนาจเข้าหลงอำนาจหาทางลงไม่ได้แต่อย่าลืมว่าอำนาจที่ได้มานั้นตัวเองไม่ได้หามาเองด้วยความถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมมันมักอยู่ไม่ได้นานเท่าไรนักดังนั้นเมื่อมีอำนาจวาสนาอย่าหลงไปยึดติดจะหาทางลงยาก พอลงก็หาบ้านอยู่ไม่ได้ นี้ไม่ได้ว่าใครแต่ถ้าใครมีอำนาจแล้วหลงเหมือนกับคนที่กินก้อนไฟลงไปทุกๆวันนั้นเอง