วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันนี้เดินทางไปเยี่ยมโยมแม่ที่ปากช่อง

วันนี้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมโยมแม่ที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไปเห็นท่านอยู่สขสบายแล้วก็ดีใจแต่ก่อนท่านลำบากมามากก็เพื่อลูกของตนเองคิดว่าทุกวันนี้ท่านก็ไม่ลำบากเท่าไรเพราะมีลูกสาวดูแลอย่างดีส่วนอาตมาภาพเป็นพระมาได้ในปัจจุบัน 15 พรรษาแล้วอย่างมากคิดถึงท่านก็เดินทางไปเยี่ยมเยือนเอาไม่ได้ทอดทิ้งแต่ประการใดเลยยังคิดถึงและเป็นห่วงเหมือนเดิมวันนี้ก็เอาผ้าห่ม ผ้านุ่งเสื้อไปให้โยมแม่ที่ ปากช่อง
ฝากมาลงโดย เจ้าอาวาสวัดหนองขนาก

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข่าวงานกฐินวัดหนองขนาก

วันที่ 10 พ.ย.2550 ชาวบ้านหนองขนากตั้งองค์กฐินเพื่อจะนำกฐินไปทอดถวาย ณ วัดหนองขนาก ในวันที่ 11 พ.ย.2550 นี้

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คัดค้านการบวชของสนธิ ลิ้มทองกุล


คัดค้านการบวชของ “สนธิ ลิ้มทองกุล”สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ 100 คนบุกวัดชนะสงคราม สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ 100 คนบุกวัดชนะสงคราม คัดค้านการบวชของ “สนธิ ลิ้มทองกุล”อ้างขาดคุณสมบัติ แถมด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายจนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นชาวพุทธบางคนก็สวมเสื้อยืดปักสัญลักษณ์พีทีวี คาดผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า “คมช.ออกไป”และอีกจำนวนมากมีสภาพผมเผ้าหนวดเครารุงรังและมีท่าทางน่ากลัวจากการกรณีที่ “นายสนธิ ลิ้มทองกุล” ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันและสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะอุปสมบทในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550ที่พระอุโบสถวัดชนะสงครามนั้นผู้สื่อข่าวรายงานว่า(30 ต.ค.) เวลาประมาณ 12.45 น.เครือข่ายองค์กรชาวพุทธประมาณ 100 คนได้เดินทางมารวมตัวกันที่บริเวณวัดชนะสงครามฯ เพื่อคัดค้านการบวชของนายสนธิ ทั้งนี้เครือข่ายดังกล่าวมาในนามของสภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ (สพช.)ต่อมา นายสุเวส อันตรี ประธานสภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติ (สพช.)ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อสมเด็จพระมหาธีราจารย์ โดยในหนังสือมีข้อความดังต่อไปนี้สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติวันที่ 30 ตุลาคามกราบเรียน สื่อมวลชนทุกแขนงด้วย นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 27 ต.ค.50 ว่าจะอุปสมบท ณ วัดชนะสงครามโดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม เป็นพระอุปปัชฌาย์ ในวันพุธที่ 7 พ.ย.เวลา09.00 น.สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติจะชุมนุมคัดค้านการอุปสมบทของนายสนธิ ลิ้มทองกุลเนื่องจากเป็นบุคคลที่ขัดต่อพระธรรมวินัยและเป็นอันตรายต่อพระพุทธศานาอย่างร้ายแรง ดังนี้1.นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นบุคคลที่มีคดีความเข้าสู่การพิจารณาในขั้นศาลหลายคดี2.นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว3.นายสนธิ ลิ้มทองกุลเป็นบุคคลที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังฆมณฑลอันเป็นฉายาแห่งสังฆเภทจึงเป็นบุคคลต้องห้ามอุปสมทบตามพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด หากให้การอุปสมบทให้แก่นายสนธิ ลิ้มทองกุลก็จะนำมาซึ่งความร้าวฉานในสังฆมณฑลอย่างไม่เคยมีมาก่อน 4.หากให้การอุปสมบทแก่นายสนธิ ลิ้มทองกุลนอกจากจะไม่ทำให้สำเร็จความเป็นพระภิกษุแล้วยังจะเป็นเหตุให้พระอุปัขฌาย์ต้องอาบัติเพราะให้การอุปสมบทต่อบุคคลต้องห้ามอีกด้วยทั้งนี้สภาเครือข่ายชาวพุทธแห่งชาติจะเคลื่อนไหวให้ถึงที่สุดจนกว่าจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้บุคคลดังกล่าวเข้ามาทำความมัวหมองให้แก่พระพุทธศาสนาอีกต่อไปผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรดาคนที่เดินทางมาในครั้งนี้ได้ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาบด่าทอนายสนธิอย่างที่ไม่น่าจะเป็นชาวพุทธได้ซึ่งบางคนก็สวมเสื้อยืดปักสัญลักษณ์พีทีวี และแกนนำบางคนก็คาดผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า “คมช.ออกไป”และอีกจำนวนมากมีสภาพผมเผ้าหนวดเครารุงรังและมีท่าทางน่ากลัวทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกับเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์กษัตริย์ ผู้ซึ่งเคยไปเคลื่อนไหวด่าทอศาลกรณีตัดสินจำคุกอดีต 3 กกต.จนโดนข้อหาหมิ่นศาลไปแล้วและบัดนี้กำลังขะมักเขม้นกับผลงานชิ้นใหม่ คือเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร, รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการหรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีให้สั่งระงับการแพร่ภาพภิกษุสันดานกา และถอนรางวัลคืนจากภาพดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นภาพที่ดูหมิ่นสงฆ์และทำลายพระพุทธศาสนาจากนั้นนายสุเวสได้ยื่นหนังสือคัดค้านการบวชของนายสนธิ โดยมี นายสมพร นิยมวานิชเจ้าหน้าที่วัดชนะสงคราม เป็นผู้รับหนังสือแทนนายสุเวสกล่าวภายหลังยื่นหนังสือว่า นายสนธิขาดคุณสมบัติข้อที่ 3 และ 4 เพราะเมื่อวันที่ 29มีนาคม ศาลได้มีคำสั่งจำคุกนายสนธิเป็นเวลา 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา แต่นายสนธิได้ขอประกันตัว ดังนั้นจึงอยู่ระหว่างพิจารณา แค่นี้ก็นับได้ว่าขาดคุณสมบัติที่จะบวช

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเข้าใจกิจของพระสงฆ์


พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา เป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเสื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้ การเข้าใจในกิจของพระภิกษุ เช่น การศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเป็นนักบวชที่ดีพระภิกษุเป็นพุทธบริษัทระดับนำ จึงมีภาระหน้าที่ในการสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยทำหน้าที่หลักใหญ่ ๆ 3 ประการคือ 1. การศึกษา ได้แก่ การทำ “คันถธุระ” หมายถึง พระภิกษุจะต้องศึกษาหลักพระธรรมวินัยตามพระคัมภีร์พระไตรปิฎกเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัย อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสมณเพศ 2. การปฏิบัติ ได้แก่การทำ “วิปัสสนาธุระ” หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตให้เป็นสมาธิ ให้มีพลัง เพื่อนำไปใช้ในการข่มหรือกำจัดกิเลสคือความเศร้าหมองแห่งจิต และให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง จากการทำหน้าที่ที่เป็นประโยชน์ส่วนตนทั้ง 2 ประการนั้นก็เพื่อนำไปสั่งสอน ถ่ายทอด และเผยแพร่พระธรรม แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปการสั่งสอนและเผยแพร่พระธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของพระภิกษุในการเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป ได้เข้าใจในหลักธรรมและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเองและสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นการทำประโยชน์แก่สังคมโดยรวม ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 พระพุทธเจ้าได้ตรัสหน้าที่ของพระสงฆ์ในการสั่งสอนเผยแพร่หลักธรรมแก่ประชาชนไว้ 6 ประการคือ 1) สอนให้ละเว้นความชั่ว คือ การชักจูงใจให้บุคคลพึงละเว้นจากสิ่งที่กระทำลงไปแล้วเกิดโทษ ไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดเป็นความทุกข์ 2) สอนให้ทำความดี คือ การชักจูงใจให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น สิ่งที่เป็นกุศล เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข 3) อนุเคราะห์ด้วยจิตใจอันงาม หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ และแนะนำสั่งสอนด้วยความปรารถนาดี มุ่งประโยชน์ที่บุคคลถึงได้รับเป็นสำคัญ ไม่หวังสินจ้างรางวัล ลาภ ยศ หรือชื่อเสียงใด ๆ เป็นการตอบแทน 4) สอนสิ่งที่เขาไม่เคยสดับตรับฟังมาก่อน ประชาชนส่วนมากมักวุ่นวายอยู่กับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาและสดับพระธรรม พระสงฆ์ผู้ได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติมากกว่าชาวบ้าน จึงต้องนำเอาสิ่งที่ตนเรียนรู้มาถ่ายทอดให้เขาได้รู้ด้วย 5) อธิบายสิ่งที่เขาได้ยินได้ฟังมาแล้วให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น บางเรื่องที่เขาฟังมาแล้วเกิดความสงสัยไม่แน่ใจ ก็ต้องชี้แจงให้เขาเข้าใจแจ่มแจ้งหายสงสัย โดยรู้จักการจับประเด็นที่สำคัญมาขยาย และชี้แจงแต่ละประเด็นให้ชัดเจน 6) บอกทางสวรรค์ให้ หมายถึง การบอกทางสุข ทางเจริญ โดยการแนะนำทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม และเป็นประโยชน์สุขแก่ประชาชน 3. การเป็นนักบวชที่ดี พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน ดังที่กล่าวมาแล้ว พระภิกษุจะต้องเป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย นอกจากอนุเคราะห์พุทธศาสนิกชนแล้ว พระภิกษุจะต้องหมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลัก ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ) 10 ประการดังนี้คือ 3.1 เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะถือเอาแต่ใจตนเองไม่ได้ 3.2 ความเป็นอยู่ของเราต้องอาศัยผู้อื่นในการเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา 3.3 เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้ 3.4 ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ 3.5 เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ 3.6 เราจักต้องถึงความพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น 3.7 เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น 3.8 วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ 3.9 เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ 3.10 คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรชิตถามในกาลภายหลัง ( บทความโดย พระอธิการประภาส โชติปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดหนองขนาก )

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประกาศ


ต้องขออภัยท่านผู้มาเยี่ยมชมเว็บบอร์ดของเกิดปัญหานิดหน่อยกำลังดำเนินการแก้ไขในขณะที่รอก็ได้นำระบบห้องบล๊อกธรรมะมาใช้งานไปก่อนชั่วคราวครับคิดว่าคงไม่เกิน 3 วันเว็บบอร์ดคงจะแก้ไขได้เสร็จแต่ในบล๊อกนี้ท่านก็สามารถคลิกอ่านบทความธรรมดีจากเราได้เช่นกันผมในฐานะผู้ดูแลระบบต้องขออภัยในความไม่สะดวกครับ เว็บไซท์สำนักงานเจ้าคณะตำบลสุขไพบูลย์ได้รับการแก้ไขปรับปรุงตลอดจุดประสงค์ในการสร้างเว็บไซท์ก็เพื่องานของพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์อำเภอเสิงสาง....ติดต่อเราได้ที่อีเมล์ nongkanakschool@gmail.com

อายะตนะคืออะไร


อายตนะ แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือในการดำเนินชีวิต ทั่วไปมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่และทำหน้าที่ของมันเป็นโดยมนุษย์ไม่รู้จักหรือแม้รู้จักก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่างทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ แม้องค์ประกอบต่างในการะบวนการผ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการทำงานด้านจิตใจเราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาทางแพทยศาสตร์และชีววิทยา ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและนักจิตวิทยา แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์คือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า”ทวาร”(ประตู, ช่องทาง)หรืออายตนะ อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่าย ๆ ว่า ทางรับรู้ แบ่งออกเป็น1.อายตนะภายใน หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน ได้แก่ ตา(จักขุ) หู(โสตะ) จมูก (ฆานะ) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กาย) ใจ (มโน) ทั้ง 6 นี้เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักขุ เป็นเจ้าในการเห็น เป็นต้น2. อายตนะภายนอก หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก ได้แก่ รูป (รูปะ) คือสิ่งที่เห็น เสียง (สัททะ)กลิ่น (คันสะ) รส (รสะ) สัมผัสทางกาย (โผฏฐัพพะ) อารมณ์ที่เกิดกับใจ สิ่งที่ใจนึกคิด(ธรรมารมณ์) ทั้ง 6 นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสิ่งสำหรับให้ใจยึดหน่วงเมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก)ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่าง ๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่า ได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์ ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ วิญญาณทางตา ได้แก่เห็นวิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งที่ต้องกาย วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจความสัมพันธ์ระหว่าง อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6 ดังนี้อายตะ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณ 61. จักขุ – ตา เป็นแดนรับรู้ รูปะ - รูป เกิดความรู้ คือ จักขุวิญญาณ – เห็น2. โสตะ – หู เป็นแดนรับรู้-สัททะ - เสียง เกิดความรู้ คือ โสตวิญญาณ – ได้ยิน3. ฆานะ -จมูก เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น เกิดความรู้ คือ ฆานวิญญาณ – ได้กลิ่น4. ชิวหา - ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส - รส เกิดความรู้ คือ ชิวหาวิญญาณ - รู้รส5. กาย - กาย เป็นแดนรับรู้ โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย เกิดความรู้ คือ กายวิญญาณ – รู้สิ่งต้องกาย6. มโน - ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ เกิดความรู้ คือมโนวิญญาณ – รู้เรื่องในใจ

อย่าหลงอำนาจ


คนแปลกพอมีอำนาจเข้าหลงอำนาจหาทางลงไม่ได้แต่อย่าลืมว่าอำนาจที่ได้มานั้นตัวเองไม่ได้หามาเองด้วยความถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมมันมักอยู่ไม่ได้นานเท่าไรนักดังนั้นเมื่อมีอำนาจวาสนาอย่าหลงไปยึดติดจะหาทางลงยาก พอลงก็หาบ้านอยู่ไม่ได้ นี้ไม่ได้ว่าใครแต่ถ้าใครมีอำนาจแล้วหลงเหมือนกับคนที่กินก้อนไฟลงไปทุกๆวันนั้นเอง

ปธานความเพียร 4

ปธาน 4 (effort : exertion) ปธาน หมายถึง ความเพียร เป็นความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ในมรรค 8 ประกอบด้วย1. สังวรปธาน หมายถึง เพียรระวังหรือเพียรป้องกัน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เป็นความเพียรในการระวังหรือป้องกันไม่ทำความชั่ว (อกุศลธรรม) ในสิ่งที่ไม่เคยทำ เช่น ไม่ทำอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น2. ปหานปธาน หมายถึง เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นความเพียรที่ละ เลิก ในสิ่งที่เป็นการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย เช่น เลิกสูบบุหรี่ เลิกสุรายาเสพติด เลิกการหลอกลวงผู้อื่น เป็นต้น3. ภาวนาปธาน หมายถึง เพียรเจริญ หรือเพียรสร้าง คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น เป็นความเพียรที่จะพยายามกระทำในสิ่งที่เป็นความดี ในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ เพื่อให้ก่อประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในอนาคต และประโยชน์สูงสุดในชีวิต4. อนุรักขนาปธาน หมายถึง เพียรอนุรักษ์ หรือเพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ เป็นความเพียรในการรักษาคุณความดีที่ได้กระทำไว้แล้ว และยังจะกระทำคุณความดีเหล่านั้นให้เจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีจำกัด เช่น การพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอันชอบธรรม เป็นต้น
หลักธรรมปธาน 4 เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปธาน 4 หมายถึง ความเพียรชอบ หรือความเป็นเป็นใหญ่ จึงเป็นส่วนของสัมมาวายามะ (ความเพียรขอบ) ในมรรค 8 ในการทำความเพียร จะต้องเริ่มก่อตัวขึ้นในใจให้พร้อมและถูกต้องก่อน แล้วจึงขยายออกไปเป็นการกระทำในภายนอกให้ประสานกลมกลืน มิใช่คิดอยากทำความเพียร ก็ใช้กำลังกายเอาแรงเข้าทุ่ม ซึ่งอาจกลายเป็นการทรมานตนเองทำให้เกิดผลเสียได้มาก โดยนัยนี้ การทำความเพียรจึงต้องสอดคล้องกลมกลืนกันไปกับธรรมข้ออื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะสติสัมปชัญญะ มีความรู้ความเข้าใจ ใช้ปัญญาดำเนินความเพียรให้พอเหมาะ คือ เป็นทางสายกลาง

อริยสัจ ๔

อริยสัจ 4
อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่ 1. ทุกข์ คือ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ไม่ให้ความพึงพอใจที่แท้จริง ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ไม่ชอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ (ความยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน คือทุกข์ในจิตใจอย่างรวบยอด)2. สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา (ความใคร่ในกาม) ภวตัณหา (ความอยากมีอยากเป็น) และวิภวตัณหา (ความไม่อยากมีอยากเป็น)3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ และวิภาวตัณหา4. มรรค คือ ทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคมีองค์ 8

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในไทย


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้อาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดี ลำดับเรื่องราวการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามลำดับดังนี้1.นิกายในพระพุทธศาสนาการศึกษานิกายในพระพุทธศาสนา เพื่อต้องการให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเบื้องต้น เพราะในการศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยได้กล่าวถึงนิกายในพระพุทธศาสนาอยู่ด้วย โดยได้ศึกษาถึงมูลเหตุของการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดนิกายในพระพุทธศาสนาโดยตรง ดังนี้ เมื่อประมาณ 100 ปีหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน วงการพระสงฆ์เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ในการตีความหมายพระธรรมวินัย เช่น พระสงฆ์ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเวลาบ่ายแล้วพระภิกษุฉันอาหารได้ น้ำดองผลไม่ที่มีรสอ่อน ๆ ดื่มแต่น้อยไม่ทำให้ผู้ดื่มเมา เว้นแต่ดื่มมาก พระภิกษุฉันได้ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นตรงตามพระวินัยว่าหลังเที่ยงแล้วพระภิกษุฉันอาหารไม่ได้ รวมทั้งน้ำดองผลไม้อย่างนั้นด้วย เพราะถือเป็นสุราเมรัย เป็นต้น พระสงฆ์ฝ่ายยึดถือพระธรรมวินัยเป็นหลักมี พระยศกากัณฑกบุตร เป็นประธาน ได้รวบรวมพระสงฆ์อรหันต์ได้ 700 องค์ ประชุมทำสังคายนาพระธรรมวินัยที่เมืองไพศาลี เป็นเวลา 8 เดือนจึงแล้วเสร็จในการทำสังคายนาในครั้งนี้ก่อให้เกิดนิกายในพระพุทธศาสนาขึ้น ดังนี้1) นิกายมหายาน ด้วยพระสงฆ์ฝ่ายแรกที่เสนอว่าเวลาบ่ายแล้วพระภิกษุฉันอาหารได้นั้นไม่ยอมรับมติที่ประชุมสังคายนา ได้แยกตัวออกไปเป็นกลุ่มต่างหาก เรียกตัวเองว่า “มหาสังฆิกะ” คือ “ฝ่ายมหายาน” คำว่า มหายานนั้นเรียกเป็น “พระโพธิสัตว์” และถือว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเป็นอมตนิรันดร เป็นต้น 2) นิกายหีนยาน สำหรับฝ่ายพระยศกากัณฑบุตรได้รับการเรียกว่า หรือ“เถรวาท” หมายถึง ผู้ยึดถือพระธรรมวินัย คือ “ฝ่ายหีนยาน” คำว่า หีนยานนั้นเรียกตามภูมิประเทศที่แผ่ไปถึงว่าทักษิณนิกาย แปลว่า ฝ่ายใต้ ซึ่งมีอุดมคติการปฏิบัติธรรม คือการบรรลุเป็น “พระอรหันต์” และถือว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ถึงจุดสิ้นสุด เป็นต้น