วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

อายะตนะคืออะไร


อายตนะ แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือในการดำเนินชีวิต ทั่วไปมนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่และทำหน้าที่ของมันเป็นโดยมนุษย์ไม่รู้จักหรือแม้รู้จักก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่างทำหน้าที่ของมันอยู่โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ แม้องค์ประกอบต่างในการะบวนการผ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และกระบวนการทำงานด้านจิตใจเราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาทางแพทยศาสตร์และชีววิทยา ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและนักจิตวิทยา แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์คือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า”ทวาร”(ประตู, ช่องทาง)หรืออายตนะ อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่าย ๆ ว่า ทางรับรู้ แบ่งออกเป็น1.อายตนะภายใน หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน ได้แก่ ตา(จักขุ) หู(โสตะ) จมูก (ฆานะ) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กาย) ใจ (มโน) ทั้ง 6 นี้เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักขุ เป็นเจ้าในการเห็น เป็นต้น2. อายตนะภายนอก หมายถึง ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก ได้แก่ รูป (รูปะ) คือสิ่งที่เห็น เสียง (สัททะ)กลิ่น (คันสะ) รส (รสะ) สัมผัสทางกาย (โผฏฐัพพะ) อารมณ์ที่เกิดกับใจ สิ่งที่ใจนึกคิด(ธรรมารมณ์) ทั้ง 6 นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสิ่งสำหรับให้ใจยึดหน่วงเมื่ออายตนะภายใน ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์(อายตนะภายนอก)ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่าง ๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียง เกิดความรู้ เรียกว่า ได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์ ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ วิญญาณทางตา ได้แก่เห็นวิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งที่ต้องกาย วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจความสัมพันธ์ระหว่าง อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6 ดังนี้อายตะ 6 อารมณ์ 6 วิญญาณ 61. จักขุ – ตา เป็นแดนรับรู้ รูปะ - รูป เกิดความรู้ คือ จักขุวิญญาณ – เห็น2. โสตะ – หู เป็นแดนรับรู้-สัททะ - เสียง เกิดความรู้ คือ โสตวิญญาณ – ได้ยิน3. ฆานะ -จมูก เป็นแดนรับรู้ คันธะ - กลิ่น เกิดความรู้ คือ ฆานวิญญาณ – ได้กลิ่น4. ชิวหา - ลิ้น เป็นแดนรับรู้ รส - รส เกิดความรู้ คือ ชิวหาวิญญาณ - รู้รส5. กาย - กาย เป็นแดนรับรู้ โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย เกิดความรู้ คือ กายวิญญาณ – รู้สิ่งต้องกาย6. มโน - ใจ เป็นแดนรับรู้ ธรรมารมณ์ - เรื่องในใจ เกิดความรู้ คือมโนวิญญาณ – รู้เรื่องในใจ

ไม่มีความคิดเห็น: