วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในไทย


การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้อาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดี ลำดับเรื่องราวการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามลำดับดังนี้1.นิกายในพระพุทธศาสนาการศึกษานิกายในพระพุทธศาสนา เพื่อต้องการให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเบื้องต้น เพราะในการศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยได้กล่าวถึงนิกายในพระพุทธศาสนาอยู่ด้วย โดยได้ศึกษาถึงมูลเหตุของการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดนิกายในพระพุทธศาสนาโดยตรง ดังนี้ เมื่อประมาณ 100 ปีหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน วงการพระสงฆ์เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ในการตีความหมายพระธรรมวินัย เช่น พระสงฆ์ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเวลาบ่ายแล้วพระภิกษุฉันอาหารได้ น้ำดองผลไม่ที่มีรสอ่อน ๆ ดื่มแต่น้อยไม่ทำให้ผู้ดื่มเมา เว้นแต่ดื่มมาก พระภิกษุฉันได้ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นตรงตามพระวินัยว่าหลังเที่ยงแล้วพระภิกษุฉันอาหารไม่ได้ รวมทั้งน้ำดองผลไม้อย่างนั้นด้วย เพราะถือเป็นสุราเมรัย เป็นต้น พระสงฆ์ฝ่ายยึดถือพระธรรมวินัยเป็นหลักมี พระยศกากัณฑกบุตร เป็นประธาน ได้รวบรวมพระสงฆ์อรหันต์ได้ 700 องค์ ประชุมทำสังคายนาพระธรรมวินัยที่เมืองไพศาลี เป็นเวลา 8 เดือนจึงแล้วเสร็จในการทำสังคายนาในครั้งนี้ก่อให้เกิดนิกายในพระพุทธศาสนาขึ้น ดังนี้1) นิกายมหายาน ด้วยพระสงฆ์ฝ่ายแรกที่เสนอว่าเวลาบ่ายแล้วพระภิกษุฉันอาหารได้นั้นไม่ยอมรับมติที่ประชุมสังคายนา ได้แยกตัวออกไปเป็นกลุ่มต่างหาก เรียกตัวเองว่า “มหาสังฆิกะ” คือ “ฝ่ายมหายาน” คำว่า มหายานนั้นเรียกเป็น “พระโพธิสัตว์” และถือว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเป็นอมตนิรันดร เป็นต้น 2) นิกายหีนยาน สำหรับฝ่ายพระยศกากัณฑบุตรได้รับการเรียกว่า หรือ“เถรวาท” หมายถึง ผู้ยึดถือพระธรรมวินัย คือ “ฝ่ายหีนยาน” คำว่า หีนยานนั้นเรียกตามภูมิประเทศที่แผ่ไปถึงว่าทักษิณนิกาย แปลว่า ฝ่ายใต้ ซึ่งมีอุดมคติการปฏิบัติธรรม คือการบรรลุเป็น “พระอรหันต์” และถือว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ถึงจุดสิ้นสุด เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: